ประกาศข่าว

โรงเรียนบ้านซำเบ็งยินดีต้อนรับ

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จิกกะบาล & ETC ช่วยกันร้องเพื่อน้องผู้ห่างไกล









ขอขอบคุณ จิกกะบาล & ETC ช่วยกันร้องเพื่อน้องผู้ห่างไกล (www.jigaban.com) และผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคงานคอนเสิร์ต วันที่ 21 ตุลาคม 2550  ยอดบริจาค 324,382 บาทรวมทั้งอุปกรณ์กีฬาและเครื่องแบบนักเรียน

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เพลง เอบีซี

เพลงอาเซียน

ผลงานที่ภาคภูมิใจ

1. โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ระดับทอง)
2. โครงการเด็กกินอิ่ม  เรายิ้มได้  จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ   ศรีสะเกษ ระดับดีเยี่ยม
3. โรงเรียนบ้านซำเบ็งเข้าร่วมโครงการโรงเรียนรวมใจ ลดน้ำใช้ ลดน้ำเสีย  เพื่อเจ้าพระยาที่สดใสเนื่องใน 
    วโรกาส     พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ
4.  ได้รับการรับรองสถานศึกษาพอเพียง ระดับ สพฐ

ข้อมูลจำนวนนักเรียน

โครงสร้างการบริหาร

กลยุทธ์ มาตรการ

กลยุทธ์โรงเรียน 8 กลยุทธ์                               
1. ส่งเสริมนักเรียนเป็นคนดี  มีคุณธรรมนำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 
2. พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
3. ส่งเสริมนักเรียนให้มีสุขภาพ ทางกาย  และจิตใจที่สมบูรณ์
4. ส่งเสริมบุคลากรจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  โดยใช้วิธีการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
5. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี  สื่อ  นวัตกรรม  ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้
6. จัดบรรยากาศห้องเรียนและสภาพแวดในโรงเรียนที่เอื้อการเรียนรู้
7. พัฒนาระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
8. ส่งเสริม  สนับสนุน  บุคลากรให้มีคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

วิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์

วิสัยทัศน์   (Vision)
โรงเรียนบ้านซำเบ็ง  เป็นองค์กรการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมุ่งพัฒนาผู้เรียน  ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาชาติ     มีคุณธรรมนำความรู้  จัดบรรยากาศห้องเรียนและสภาพแวดล้อมโรงเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ นำเทคโนโลยี  ภูมิปัญญาท้องถิ่น       มาประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้  ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนมีทักษะในการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม
พันธกิจ (Mission)
1.ส่งเสริมนักเรียนเป็นคนดี  มีคุณธรรม นำความรู้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
2.พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
3.ส่งเสริมนักเรียนให้มีสุขภาพกาย  ใจที่สมบูรณ์
4.ส่งเสริมบุคลากรจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย
5.สนับสนุนการใช้เทคโนโลยี สื่อ นวัตกรรม ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ ในการเรียนรู้
6.จัดบรรยากาศห้องเรียนและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
7.พัฒนาระบบบริหารแบบมีส่วนร่วม
8.ส่งเสริมสนับสนุน บุคลากรให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ
อัตลักษณ์ของโรงเรียน
“กิจวัตร  กิจกรรม  วัฒนธรรมพอเพียง”
 
 

คติพจน์ คำขวัญ

คติพจน์โรงเรียนบ้านซำเบ็ง

นิมิตต  สาธุรูปาน  กตัญญู  กตเวทีตา
ความกตัญญู  กตเวที  เป็นเครื่องหมายแห่งความดี

คำขวัญโรงเรียน

เรียนดี    มีวินัย  ใฝ่คุณธรรม

ตราสัญลักษณ์

ประวัติของโรงเรียน

โรงเรียนบ้านซำเบ็ง ก่อตั้งเมื่อ วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๘  ตั้งอยู่  บ้านซำเบ็ง หมู่ ๘  ตำบลกระแชง  อำเภอกันทรลักษ์   จังหวัดศรีสะเกษ   มีพื้นที่ ๖ ไร่  จัดการศึกษาก่อนระดับประถมศึกษาถึงระดับประถมศึกษาปีที่ ๖  มีผู้บริหาร ๑ คน  ครูผู้สอน ๔ คน    นักเรียน ๖๓ คน  มีนักการภารโรง 1 คน โรงเรียนอยู่ในเขตเศรษฐกิจพอเพียงสภาพชุมชนมีรายได้ปานกลางถึงสูง  เนื่องจากมีอาชีพทำไร่ทำสวนเป็นส่วนใหญ่  ส่งผลให้เด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครอง

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อโรงเรียน บ้านซำเบ็ง  ที่ตั้ง หมู่ที่   8  ตำบล  กระแชง  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4

เขตพื้นที่บริการ
โรงเรียนบ้านซำเบ็ง มีหมู่บ้านในบริการ 2 หมู่บ้าน ดังนี้
v หมู่ที่ 8 บ้านซำเบ็งใหญ่     ตำบลกระแชง      อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
v หมู่ที่ 14 บ้านซำเบ็งน้อย   ตำบลกระแชง      อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

สภาพชุมชนโดยรวม
สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ เป็นที่เนินสูง มีประชากรประมาณ 1, 000 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียนได้แก่
                        ทิศเหนือ                                ติดกับที่ทำกินของชาวบ้านซำเบ็ง
                        ทิศตะวันออก                       ติดกับที่ทำกินของนายวิเชียร  อนุรัตน์
                        ทิศตะวันตก                          ติดกับที่ทำกินของนายวิเชียร  แก้วอุดม
                        ทิศใต้                                      ติดกับที่ทำกินของนายวิชัย  แก้วอุดม
อาชีพหลักของชุมชน คือ ทำนา- ทำไร่   รับจ้างทั่วไป  เนื่องจากบริเวณส่วนใหญ่เป็นที่เนิน  ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

การจัดการศึกษา
โรงเรียนบ้านซำเบ็ง จัดการศึกษา 2 ระดับ   ดังนี้
v ระดับปฐมวัย  ชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 2  จำนวน 2 ห้อง
v ระดับปฐมศึกษา  ช่วงชั้นที่ 1  และช่วงชั้นที่ 2   จำนวน  6  ห้อง